ตัวอักษรวิ่ง

ยินดีต้อนรับผู้ที่สนใจเว็บ Blogger ของนายกฤษดา ภูมิเพ็ง สื่อการเรียนการสอนออนไลน์โปรแกรมเชิงวัตถุเบื้องต้น

บทเรียนบทที่ 3

 บทที่ 3
Visual C++ v.6.0

 เนื่องจากในบทเรียนเล่มนี้ได้อ้างอิงถึงการใช้ภาษา C++ บน Microsoft Visual C++ 6.0 ดังนั้น จึงเป็นการดีหากผู้ศึกษาจะได้ทำความรู้จัก และเตรียมติดตั้งโปรแกรมที่จำเป็นให้เรียบร้อยก่อนจะนำไปใช้งานจริง
ในบทนี้  จะแนะนำ Visual C++ และการติดตั้งโปรแกรม  Visual C++ 6.0 รวมถึงสภาพแวดล้อมใน Visual C++  เพื่อให้การใช้งานโปรแกรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด  ดังนั้นควรจะต้องทำความเข้าใจกับตัวเลือกต่างๆ ในการติดตั้ง  เมื่อเกิดปัญหาในการติดตั้งก็จะสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง
ความรู้ที่เกี่ยวกับ Visual C++
ในการพัฒนาโปรแกรมวินโดวส์ในยุคแรก ๆ จะใช้เครื่องมือ ที่เรียกว่า SDK (Software Development Kit) ซึ่งจะเป็นชุดพัฒนาโปรแกรมบนวินโดวส์  แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการสร้างเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาโปรแกรมบนวินโดวส์มากมาย เช่น Microsoft Visual Basic , Visual C++ Delphi หรือ Power Builder เป็นต้น ซึ่งโดยมากจะเป็นโปรแกรมประเภท Visual นั่นคือรูปการแบบพัฒนาโปรแกรมจะอยู่ในลักษณะ WYSIWYG
คำว่า WYSIWYG ย่อมาจากคำว่า What you see is what you get  หมายความว่า  “คุณเห็นอย่างไรคุณก็ได้อย่างนั้น”
เป็นสโลแกนที่นิยมใช้กันมากสำหรับโปรแกรมประเภท Visual ต่าง ๆ เมื่อสร้างโปรแกรมต่างๆ หรือสร้างงานขึ้นมา ผลที่ได้ก็จะมีลักษณะเหมือนกับตอนที่เราสร้าง เราถึงได้เรียกว่า WYSIWYG นั้นเอง
Microsoft Visual C++ เป็นโปรแกรมประเภท Visual อีกตัวหนึ่งที่ได้รับการพัฒนาให้มีความยืดหยุน  และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาจากภาษา C++ และได้สนับสนุนการพัฒนาโปรแกรมในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโปรแกรมทั่วไป  การสร้างโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล  การสร้างโปรแกรมบนระบบเครือข่าย หรือมัลติมิเดียอย่างครบครัน
Visual C++ ได้รับการพัฒนามาจาก Microsoft C/C++ ให้เป็นIDE ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ได้อย่างเต็มที่  รองรับการพัฒนาโปรแกรมบนวินโดวส์โดยมี MFC (Microsoft Foundation Class) เป็นไรบรารีที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนาโปรแกรม
ในยุคที่ MFC ยังไม่ถือกำเนิด  เมื่อจะพัฒนาโปรแกรมบนวินโดวส์ก็ต้องใช้ SDK และคอมไพเลอร์ภาษา C เช่น Microsoft C++ Borland C++ ช่วยในการเขียนโปรแกรม โค้ดโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วย SDK นี้ค่อนข้างซับซ้อน  และสร้างความลำบากให้การศึกษาทำความเข้าใจ  จึงได้มีการสร้างคลาสขึ้นมาชุดหนึ่ง เขียนโค้ดโดยใช้โครงสร้าง OOP ด้วยภาษา C++ ชื่อว่า MFC หรือ Microsoft Foundation Class ใช้สำหรับอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมบนวินโดวส์โดยเฉพาะ โค้ดโปรแกรมที่เขียนโดยใช้ MFC นั่นจะมีขนาดเล็กและไม่ซับซ้อน ทำให้การพัฒนาโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายกว่าการใช้ SDK
ความยืดหยุ่น และประสิทธิภาพของ MFC นี้เองทำให้ MFC ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้นและได้ถูกรวบรวมเป็นไลบรารีหนึ่งของ Microsoft C/C++ เวอร์ชัน 7 และคอมไพเลอร์ตัวอื่น ๆ ด้วย
ในตอนนี้ สามารถบอกได้ว่า MFC นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ  Visual C++เลยทีเดียว เพราะ Visual C++ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรมบนวินโดวส์ที่มี MFC และไลบราลีช่วยอำนวยความสะดวก แทนการใช้ SDK  ซึ่งทำให้ MFC ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไป พร้อมกับ Visual C++ จนถึงทุกวันนี้
การเขียนโปรแกรมบนวินโดวส์ด้วย Visual C++ ให้ดี และมีประสิทธิภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษารายละเอียดและหลักการของ MFC ให้เข้าใจ อาจจะไม่ต้องศึกษาให้ลึกจนถึงระบบซอร์สโค้ดหรือการทำงานของ MFC เพียงแต่ศึกษาว่าการเขียนโปรแกรมด้วย MFC นั้นทำอย่างไร และ MFC  ให้อะไรกับเราบ้างก็เพียงพอแล้ว
ความต้องการทางด้านฮาร์ดแวร์
ก่อนที่จะทำการติดตั้งโปรแกรม Visual C++ 6.0 ควรจะตรวจเครื่องคอมพิวเตอร์ให้พร้อมด้วย ส่วนประกอบทางด้านฮาร์ดแวร์มีดังต่อไปนี้
1. หน่วยความจำไม่ควรต่ำกว่า 16MB เป็นอย่างน้อง
2. Mouseและจอภาพ VGA หรือที่สูงกว่า
3. เนื้อที่ว่างในฮาร์ดดิสก์ประมาณ 100MB ขึ้นไป
4. ไดร์ฟซีดีรอมสำหรับการติดตั้ง Visual C++6.0
ส่วนประกอบของ Visual C++ ต้องการฮาร์ดแวร์ที่ค่อนข้างสูง  ถ้ามีระบบฮาร์ดแวร์ที่ไม่เหมาะสมอาจพบกับความล่าช้าบ้างในการพัฒนาโปรแกรม เช่น ความเร็วของซีพียู หรือหน่วยความจำที่น้อยเกินไป เป็นต้น
ความต้องการทางด้างซอฟต์แวร์
หากเคยใช้ Visual C++5 มาก่อน คงจะทราบข้อกำหนดในการติดตั้ง Visual C++5 กันแล้ว  ก็คือ ในวินโดว์จะต้องติดตั้ง Internet Explorer เวอร์ชัน 3 เสียก่อน เช่นเดียวกันกับการติดตั้ง Visual C++เวอร์ชัน 6 เราก็จะต้องติดตั้ง Internet Explorer เหมือนกัน แต่จะต้องติดตั้ง Internet Explorer เวอร์ชัน 4 ขึ้นไป เพราะ Visual C++6  จะใช้ส่วนประกอบของ  Internet Explorer ในการทำงานของโปรแกรมด้วย  เพราะฉะนั้น ความต้องการซอฟต์แวร์ที่จะต้องมีคือ

  • ระบบปฏิบัติการ Windows 95/98 หรือ Windows NT/Me หรือ Windows XP
  • โปรแกรม Microsoft Internet Explorer 4.01 หรือสูงกว่า
  • โปรแกรม ติดตั้ง Microsoft Visual C++ เวอร์ชัน 6.0

Microsoft Internet Explorer เป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์จากบริษัทไมโครซอฟต์ และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะต้องติดตั้งลงไปก่อน ถ้าในระบบไม่มีโปรแกรมที่จะติดตั้งก็จะทำการที่ติดตั้ง IE4 หรืออาจจะติดตั้ง IE เวอร์ชั่นตั้งแต่ 4 ขึ้นไป ด้วยตนเองก่อนก็ได้

 

 

 

 

การติดตั้งโปรแกรม
การติดตั้ง ติดตั้ง Microsoft Visual C++ 6.0
ขั้นตอนการติดตั้ง Microsoft Visual C++ 6.0
1. ใส่แผ่นติดตั้งที่มีโปรแกรม Microsoft Visual C++ 6.0 เข้าไปในไดร์ฟ CD-ROM แล้วการทำงาน Auto-Run จะเรียก หน้าต่าง Setup ขึ้นมาให้อัตโนมัติครับโดยมีหน้าตาเป็นดังภาพด้านล่างนะครับ




2. กด Next เพื่อทำขั้นตอนต่อไปของการติดตั้งครับ
3. จะปรากฏหน้าจอของเืงื่อนไขของการใช้ผลิตภัณฑ์ หลายๆ ท่านที่ติดตั้งโปรแกรมก็มักจะเจอกันครับ ให้คุณยอมรับเงื่อนไขของการใช้ผลิตภัณฑ์ โดยคลิกลูกศรตรงช่องสีขาวที่เขียนว่า accept the agreement แล้วปุ่ม Next จะนูนขึ้นมาเป็นสีดำ ให้
Next ต่อเลยครับ




4. จะปรากฏหน้าจอเกี่ยวกับ license ให้กรอกรหัส S/N ของผลิตภัณฑ์ไปในสองช่องบน และ กรอกชื่อของคุณที่ช่อง Your name และชื่อบริษัทของคุณที่ Your company's name แล้วปุ่ม Next ก็จะปรากฏขึ้นมาครับ แล้วก็ให้กด Next ต่อ




5. จะปรากฏหน้าจอการติดตั้ง Microsoft Virtual Machine for Java ให้คลิ๊กที่ช่องตรงปุ่ม Update Microsoft Virtual Machine for Java จะมีเครื่องหมายถูก ถ้าเราติ๊กแล้ว จะปรากฏปุ่ม Next ขึ้นมาให้กด




6. ถ้ามีโปรแกรมแล้วเครื่องจะทำขั้นตอนถัดไปเลยครับ แต่ถ้ายังไม่มีจะมีการติดตั้งโปรแกรม MVMJ (ขอเรียกย่อๆนะครับ) เข้าไป




7. หลังเสร็จสิ้นการ Install MVMJ แล้วนะครับ โปรแกรมก็จะให้เรา Reboot ครับ กด OK แล้วเครื่องก็จะทำการ Boot ใหม่ครับ




8. หลังจาก Reboot เครื่องเสร็จ (กรณียังไม่มี MVMJ) เครื่องก็จะทำขั้นตอนถัดไปครับ ซึ่งจะเป็นการเลือกชนิดการติดตั้งของผลิตภัณฑ์ครับ ให้คุณคลิ๊กเลือกที่ Products ครับ แล้วก็กดปุ่ม Next ครับ




9. แล้ว Wizard นี้ก็จะถาม Directory ที่คุณจะติดตั้ง Common files ลงไปครับ โดยจะมีการกำหนดค่า Default มาให้ครับ ถ้าคุณไม่ต้องการเลือกหรือเปลี่ยน Directory ก็กด Next ได้เลยครับ แต่ถ้าต้องการเปลี่ยน Directory ก็กดที่ปุ่ม Browse เพื่อเลือก Directory ที่คุณต้องการจะติดตั้งได้เลยครับ (ในที่นี้ผมใช้ Directory ที่เป็นค่า Default แต่ผมเปลี่ยนเป็นใช้ Drive E: ในการ Install ครับ) เมื่อเลือกเสร็จแล้วก็กด Next เลยครับ




10. จากนั้นจะขึ้นหน้าจอให้เลือก ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการจะติดตั้งครับ อันนี้แล้วแต่คุณว่าจะเลือกอะไรติดตั้งลงไปจาก Visual Studio แต่ในที่นี้ผมจะเลือกแค่ Visual C++ นะครับ ให้คุณติ๊กเลือก Visual C++ 6.0 Enterprise Edition แล้วก็กด Next ต่อไปครับ



11. จะมีหน้าจอให้ยืนยันการติดตั้งขึ้นมาครับ เสร็จแล้วให้คลิ๊กที่ปุ่ม Continue เืพื่อทำขั้นตอนถัดไปครับ (ถ้าต้องการออก คลิ๊กที่ Exit Setup)




12. จะปรากฏหน้าจอการเลือกองค์ประกอบ หรือ Component ที่เราสามารถกำหนดได้นะครับว่าจะเอา Component อะไรบ้าง ถ้าท่านต้องการเลือกก็สามารถคลิ๊ก ช่องว่าง ให้กลายเป็นเครื่องหมายถูกได้ครับ หรือต้องการจะต้องการดู Component ที่อยู่เป็นส่วนย่อยให้คลิ๊กที่ปุ่ม Change Option ได้ครับ ถ้าต้องการเลือกทั้งหมดก็สามารถกดได้ที่ Select All เมื่อคุณเลือก Component เสร็จแ้ล้วนะครับ จะสามารถเปลี่ยน Folder ที่จะ install โปรแกรมได้โดยกดที่ Change Folder ครับ เสร็จแล้ว คลิ๊กที่ Continue เพื่อทำขั้นตอนต่อไปเลยครับ




13. Wizard ของโปรแกรมจะทำการ Install โปรแกรมไปยัง Directory ที่เลือกไว้ครับ




14. เมื่อ Install files เสร็จเรียบร้อยแล้วโปรแกรมก็จะถามคุณว่าจะทำอะไรต่อไป ใ้ห้คลิ๊กที่Restart Windows เพื่อบู้ตระบบใหม่ครับ




15. หลังจาก Boot ระบบเสร็จแล้วระบบจะถามเราว่าจะติดตั้ง MSDN (Microsoft Developer Network Library) ซึ่งเป็นเสมือนคลังความรู้ที่ทำใ้ห้คุณเขียนโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคุณต้องหาซื้อเพิ่มมาครับ ถ้าต้องการ ให้คลิ๊กที่ช่อง Install MSDN ถ้าไม่ต้องการก็ติ๊กออกนะครับ ในที่นี้ผมไม่ install MSDN นะครับ เสร็จแล้วกด Next ได้เลยครับ




16. เสร็จขั้นตอนการติดตั้งครับ (ถ้าคุณ intstall MSDN ก็ทำตามขั้นตอนที่ Wizard ขึ้นมาให้นะครับ)
สภาพแวดล้อมใน
เมื่อติดตั้งโปรแกรมพร้อมใช้งานแล้ว จากนั้นจะเริ่มมาศึกษาและทำความรู้จักกับสภาวะแวดล้อมในการพัฒนาโปรแกรมด้วย  Visual C++ ซึ่งประกอบด้วย

  • โปรเจ็กต์เวิร์กสเปซ (Project Workspace)
  • การจัดการโปรเจ็กต์เวิร์กสเปซ
  • คอมไพเลอร์และลิงค์เกอร์
  • ทูลบาร์และเมนูบาร์ของ Visual C++
  • รายละเอียดและการใช้งาน Help

โปรเจ็กต์เวิร์กสเปซ (Project Workspace)
            เมื่อทำการสร้างโปรแกรม Visual C++ อันดับแรกที่ต้องทำ ก็คือ การสร้างโปรเจ็กต์เวิอร์กสเปซใหม่ ซึ่งเป็นการกำหนดพื้นที่ในการเก็บโปรเจ็กต์ที่ต้องการสร้าง และกำหนดตัวเลือกต่าง ๆ
            โปรเจ็กต์ไฟล์ของ Visual C++ จะเรียกว่า “เวิร์กสเปซโดยจะใช้นามสกุล .dsw เป็นไฟล์ที่เก็บตัวเลือกต่าง ๆ ของโปรเจ็กต์ และสามารรถโหลดโปรเจ็กต์ที่เขียนด้วย Visual C++ เวอร์ชันที่ต่ำกว่านี้ได้เช่น .mak หรือ .mdp เป็นต้น
ประโยชน์ของโปรเจ็กต์ไฟล์สามารถสรุปได้ดังนี้

  • โปรเจ็กต์ไฟล์จะเก็บรายชื่อของไฟล์ที่เป็นซอร์สโค้ดโปรแกรมทั้งหมด ที่ใช้ร่วมกันในโปรเจ็กต์ เช่น ซอร์สโค้ด โปรแกรม .h , .cpp รวมทั้งไฟล์ฐานข้อมูลโปรแกรมที่ใช้ใน Class Wizard เป็นต้น
  • โปรเจ็กต์ไฟล์จะเก็บค่าตัวเลือกสำหรับการคอมไพล์ และการลิงค์เอาไว้เพื่อบอกไห้รู้ว่าโปรเจ็กต์นี้จะทำการคอมไฟล์ และลิงค์กับไลบรารีได หรือมีการสร้างส่วนประกอบอื่น ๆ อีกหรือไม่ เช่น ส่วนประกอบในการดีบัก
  • โปรเจ็กต์ไฟล์จะเก็บค่าตัวเลือกที่แสดงว่าโปรเจ็กต์นี้เป็นโปรเจ็กต์แบบใดเมื่อทำการคอมไพล์ เช่น Windows Application (.EXE)  หรือDynamon – Link Library (.DLL) เป็นต้น

เวิร์กสเปซ,โปรเจ็กต์เวิร์กสเปซ และโปรเจ็กต์ไฟล์ ก็คือตัวเดียวกัน แต่เรียกได้หลายชื่อตามเวอร์ชันของ Visual C++เรียกว่า Make File เพราะใช้ไฟล์นามสกุล .mak Visual C++4.0จะใช้นามสกุล .mdp เป็นโปรเจ็กต์ไฟล์ เพราะย่อมาจาก Microsoft   Developer Project ส่วน Visual C++ 6 จะใช้ไฟล์ .dsw ซึ่งย่อมาจาก Developer Studio Workspace ถึงไฟล์จะนามสกุลไม่เหมือนกันในแต่ละเวอร์ชัน แต่การทำงานก็ยังใช้หลักการเดียวกัน

จากไดอะล็อก NEW จะพบกับตัวเลือกของโปรเจ็กต์แบบต่าง ๆ มีอยู่ด้วยกัน 14 ตัวเลือก ดังนี้

ATL COM AppWizard เป็นการสร้างโปรเจ็กต์ ActiveX Control โดยใช้ ActiveX Template Library (ATL)

Custom AppWizard เป็นการสร้างตัวเลือก AppWizard ตัวใหม่ ที่สามารถกำหนดค่าต่างๆ ของโปรเจ๊กตาให้เหมาะกับงานที่ต้องการได้

Database Project สำหรับส่วนประกอบของ Database ใช้สำหรับเพิ่มเข้าไปในโปรเจ็กต์

DevStudio Add-in Wizard เป็นการสร้างส่วนประกอบใหม่ที่ใช้ร่วมกับ Visual Studio

ISAPI Extemsion Wizard เป็นการสร้างโปรแกรม ISAPI ซึ่งเป็น DLL ที่ทำงานเหมือนกับ CGI ตัวหนึ่งใช้สำหรับสื่อสารและจัดการข้อมูลระหว่าง Server และ Client

Make File เป็นสร้างโปรเจ็กต์ไฟล์แบบ Make File ที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดค่าของโปรเจ็กต์ด้วยตนเอง

MFC ActiveX เป็นการสร้าง ActiveX Control โดยใช้ไลบรารี MFC  โดยจะมีขั้นตอนการสร้าง ControlWizard เป็นลำดับขั้น ๆ ในการทำงาน

MFC AppWizard (DLL) เป็นการสร้าง Dynamic-Link Library (.DLL) โดยใช้ไลบรารี MFC

 

  

 

 

MFC AppWizard (EXE) เป็นการสร้างโปรแกรมบนวินโดวส์  (.EXE) โดยใช้ไลบรารี MFC

New Database Wizard  เป็นการสร้าง Database บน SQL Server และจัดการข้อมูลต่าง ๆ ทางด้าน Database

Win 32 Application เป็นการสร้างโปรแกรมบนวินโดวส์ (.EXE) แต่จะต้องเขียนโค้ดโปรแกรมด้วยตนเอง

Win 32 Console Application  เป็นการสร้างโปรแกรมโหมดคอนโซล (ดอสโหมด)

Win 32 Dynamic-Link Library เป็นการสร้าง Dynamic-Link Library (.DLL)

Win 32 Static Library เป็นการสร้าง Static Library (.LIB)

 

  

 


การโปนเจ็กต์เวิร์กสเปซแต่ละแบบจะมีลัษณะที่ต่างกัน หากต้องการเขียนโปรแกรมบนวินโดวส์ จะต้องเลือกตัวเลือก MFC AppWizard หรือ Win 32 Application หรือถ้าหากต้องการสร้างโปรแกรมในโหมดดอส (Console) จะต้องเลือกไปที่ Win 32Console Application เป็นต้น

การบันทึกและโหลดโปรเจ็กต์เวิร์กสเปซ
เมื่อทำการแก้ไขโปรแกรม เราสามารถบันทึกข้อมูลลงดิสก์ได้โดยเลือกคำสั่ง File>Save ซึ่งจะเป็นการบันทึกไฟล์ที่แก้ไขอยู่ หรือสามารถเลือกคำสั่ง File>Save Workspace เพื่อบันทึกการแก้ไขทุกอย่างในโปรเจ็กต์
สำหรับการเปิดโปรเจ็กต์เก่าขึ้นมาแก้ไข ทำได้โดยเรียกคำสั่ง Open Workspace โดยจะพบกับไดอะล็อก  Open Workspace โดยเปิดไฟล์ที่มีนามสกุล .DSW โปรเจ็กต์จะถูกโหลดขึ้นมาและสามารถแก้ไขต่อได้
คอมไพเลอร์และลิงค์เกอร์
            สิ่งหนึ่งที่จะต้องทำความรู้จักก็คือ คอมไพเลอร์ (Compiler)  และลิงค์เกอร์ (Linker) เมื่อสร้างซอร์สโค้ดโปรแกรมขึ้นมาจะต้องมีการแปรภาษา
            การพัฒนาโปรแกรมบนวินโดวส์นั้นจะต่างกับการพัฒนาโปรแกรมในระบบดอส เช่น การคอมไพเลอร์โค้ด และการคอมไพล์รีซอร์ส เพราะฉะนั้น เครื่องมือหลัก ๆ ที่ใช้ในกระบวนการ Build ของ Visual C++ มีดังนี้

  • C/C++ Compiler เป็นการคอมไพเลอร์ภาษา C/C++ ของ  Visual C++ ซึ่งจะเป็นโปรแกรมตรวจสอบข้อผิดพลาดของ

ซอร์สโค้ด

  • Resource Compiler  เป็นตัวแปรภาษาของรีเซอร์สสคริปต์  (Resource Scripts) เป็นโปรแกรมที่ตรวนเช็คความถูกต้องของรีซอร์ส  ผลที่ได้จากการคอมไพล์ ก็คือ ออบเจ็กต์ไฟล์ของรีซอร์ส (.res)
  • Linker ลิงค์เกอร์ของ  Visual C++ นั้น จะเริ่มต้นที่การคอมไพล์รีซอร์สเสียก่อนจากนั้นคอมไพเลอร์จะทำการแปรภาษา (ตรวจสอบซอร์สโค้ด) และสร้างออบเจ็กต์ไฟล์ขึ้นมา ( สร้างไฟล์ .obj) และลิงค์เกอร์จะทำการเชื่อมโยงเหล่านั้นกับไลบรารีไฟล์ให้เป็นไฟล์ Execute (สร้าง .exe) ดังนั้น ควรจะมาทำความเข้าใจกับกระบวนการ Build นี้อีกครั้งเมื่อได้ทดลองสร้างโปรแกรมกันแล้ว

ทูลบาร์และเมนูบาร์ของ Visual C++
ทูลบาร์
ทูลบาร์ของโปรแกรม Visual C++ มีมากมายและหลายหน้าที่ การใช้งานหลัก ๆ ของ โปรแกรมจะมีอยู่ 8 ทูลบาร์ด้วยกันดังนี้
1. Standard เป็นทูลบาร์ที่ประกอบด้วยคำสั่งพื้นฐาน เช่น New , Open Save , Copy , Paste , Undo , Redo เป็นต้น
2. Build เป็นทูลบาร์ที่ใช้กำหนดตัวเลือกต่าง  ๆ ของโปรเจ็กต์และคอไพล์โปรเจ็กต์
3. Build MiniBar เป็นทูลบาร์ที่ใช้สำหรับ Build แต่จะเล็กกว่าและมีส่วนประกอบที่ใช้สำหรับ Build  และการ Execute โปรแกรมโดยฉะเพาะ
4. ATL เป็นทูลบาร์สำหรับ ActiveX Template Library (ATL) โดยจะต้องสร้างโปรเจ็กต์ให้รองรับกับ ATL นี้ จึงสามารถใช้งาน ATL Object Wizard จากทูลบาร์นี้ได้
5. Resource เป็นทูลบาร์ของรีซอร์สสามารถสร้างรีซอร์สต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยกดปุ่มต่างๆ ภายในทูลบาร์นี้เพื่อทำการสร้างรีซอร์ส
6. Edit เป็นทูลบาร์ที่ใช้สำหรับเพิ่มความสามารถาในการแก้ไขซอร์สโค้ด เช่น การเพิ่มบุ๊กมาร์ค ค้นหาคำที่อยู่ในซอร์สโค้ด
7. Debug เป็นทูลบาร์ที่ใช้ในการดีบักโปรแกรมเช่น Reatart , Step Info , Step Over
8. Database  ใช้สำหรับเพิ่มและแก้ไขส่วนประกอบของโปรเจ็กต์ที่เกี่ยวกับกับฐานข้อมูลโดยโปรแกรมที่สร้างนั้นจะต้องมีการติดต่อกับส่วนประกอบเหล่านี้ด้วย
เมนูบาร์
เมนูบาร์ (Menu Bar) ของ Visual C++มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งก็คือ เป็นเมนูที่สามารถถอนออกมาจากวินโดวส์ได้ รายละเอียดของเมนูแต่ละตัวมีดังนี้

  • เมนู File เป็นเมนูพื้นฐานที่สามารถพบได้ทุกๆ โปรแกรม ใช้สำหรับสร้างซอร์สโค้ดใหม่หรือเปิดโปรเตจ็กต์ขึ้นมาแก้ไข
  • เมนู Edit เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการแก้ไขซอร์สโค้ด เช่น Copy , Paste
  • เมนู  View  ใช้สำหรับแสดงหน้าต่างและเปลี่ยนมุมมองการแก้ไขโปรเจ็กต์ เช่น การแสดงหน้าProperties, หน้าต่าง Output หรือการปรับให้อยู่ในโหมด Full Screen  รวมทั้งการเรียกโปรแกรม Class Wizard
  • เมนู Insert ใช้สำหรับการเพิ่มคลาสใหม่ รีซอร์ส หรือส่วนประกอบของ ATL (Active Template Library)
  • เมนู Project ใช้สำหรับปรับแต่งตัวเลือกต่าง ๆ ของโปรเจ็กต์ เช่น การเพิ่มซอร์สไฟล์เข้าไปในโปรเจ็กต์ การกำหนดตัวเลือกการคอมไพล์ เป็นต้น
  • เมนู  Build เป็นเมนูที่ใช้ในการคอมไพล์โปรเจ็กต์ และการรันโปรแกรม
  • เมนู Tools  เป็นเมนูที่ใช้สำหรับเรียกใช้เครื่องมือต่าง ๆ และใช้การปรับแต่งโปนแกรม
  • เมนู Window เป็นเมนูที่ใช้สำหรับจัดเรียงวินโดวส์ภายในโปนแกรมเช่น Cascasde, เรียงวินโดวส์ในแนวนอนและแนวตั้ง ปิดวินโดวส์ทั้งหมดเป็นต้น
  • เมนู Help ใช้สำหรับแสดงระบบช่วยเหลือและรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆรวมทั้งการกำหนดบุ๊กมาร์คให้กับ InfoViewer

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น